วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หุ้นที่ยากเกินไป

คำว่า "ยากเกินไป" คำๆนี้เป็นคำพูดที่ผมมักจะได้ยินบ่อยๆจากบรรดานักลงทุนที่พูดถึงหุ้นบางตัว ที่เขาไม่ค่อยเข้าใจ บรรดานักลงทุนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่น่านับถือหลายๆคนก็มักจะคอยย้ำเตือน ให้นักลงทุนรุ่นใหม่ๆ ลงทุนในหุ้นที่เข้าใจง่าย และหนึ่งในคำพูดที่นิยมใช้เป็นข้อเตือนใจกันคือ "อย่าโลภเกินความรู้" เพราะการที่เราโลภและไปซื้อหุ้นที่เราไม่ค่อยเข้าใจจะทำให้เรามีโอกาสผิดพลาดและขาดทุนสูง

คำว่า "ยากเกินไป" แม้จะเขียนได้แบบเดียว อ่านได้แบบเดียว แต่ความหมายและการตีความสำหรับแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งจากประสบการณ์ของผม พบว่าคนจำนวนมากมักจะตีความหุ้นใดหุ้นหนึ่งว่าเป็น "หุ้นที่ยากเกินไป" สำหรับเขาก็ต่อเมื่อเขาพบว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นในกิจการที่ไม่ค่อยคุ้น เคย รูปแบบการทำธุรกิจเข้าใจได้ยากต้องใช้เวลาในการศึกษามากกว่าปกติ การคิดหากำไรในอนาคตต้องใช้การคำนวณซับซ้อนกว่าปกติ การประเมินมูลค่าของบริษัทยากและใช้สูตรมากมาย ธุรกิจอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือกฎหมายบางอย่างที่พิเศษกว่าธุรกิจอื่นซึ่งต้อง ใช้เวลาในการศึกษากฎเกณฑ์เหล่านั้น

แต่ สำหรับผมแล้ว คำว่า "ยากเกินไป" คงไม่ได้หมายถึงความยากในการทำความเข้าใจธุรกิจ หรือความยากในการประเมินมูลค่าหุ้น เพราะผมเชื่อว่า ไม่ว่าธุรกิจนั้นๆจะเข้าใจยากแค่ไหน ประเมินยากเพียงไร หากเราตั้งใจศึกษาจริงๆ เราก็สามารถที่จะเข้าใจได้ในที่สุด แต่คำว่า "ยากเกินไป" สำหรับผมแล้ว น่าจะหมายถึงความยากในการคาดการณ์อนาคตของกิจการ" มากกว่า

ในชีวิตจริงหากเราได้ลงไปศึกษาในรายละเอียดของหุ้น อย่างจริงๆจังๆจนมีความเข้าใจในตัวธุรกิจ เราจะสามารถแยกหุ้นเหล่านั้นได้เป็น 3 แบบ คือ หุ้นกลุ่มแรกเป็นหุ้นที่มั่นใจว่ากิจการในอนาคตจะเติบโตดี หุ้นกลุ่มที่สองเป็นหุ้นที่มั่นใจว่ากิจการในอนาคตจะไม่เติบโต(เติบโตน้อยๆ หรืออาจจะถดถอยลง) และหุ้นกลุ่มที่สามเป็นหุ้นที่ไม่สามารถบอกอนาคตได้ อนาคตมีความไม่แน่นอนสูงคาดการณ์ยาก ซึ่งการคาดการณ์ยากนี้ไม่ใช่ว่ายากในการทำความเข้าใจธุรกิจ แต่เป็นเพราะธรรมชาติของกิจการนั้นมีความไม่แน่ไม่นอนสูงมาก เช่นธุรกิจรับเหมาที่ต้องลุ้นผลการประมูลงาน เป็นต้น และในบรรดาหุ้นทั้ง 3 แบบนี้เราคงจะอยากลงทุนในหุ้นแบบแรกมากที่สุด เพราะเราคงจะอยากลงทุนในกิจการที่อนาคตมีความแน่นอนสูง สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเติบโตดีต่อไปในอนาคต

ดัง นั้นหากเราจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่อนาคตมีความไม่แน่ไม่นอนสูง ด้วยเหตุผลว่า "ยากเกินไป" ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่หากเราหลีกเลี่ยงลงทุนในบางบริษัทที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทในการศึกษา มากกว่าปกติ โดยให้เหตุผลว่า "ยากเกินไป" ก็อาจจะทำให้เราพลาดการลงทุนในบริษัทที่มีอนาคตที่ดีได้

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มูลค่าของบริษัทประกันชีวิต ตอนที่ 2 (Embedded Value)

เนื่องจากคณิตศาสตร์ประกันภัย และการคำนวณแบบ DCF หรือหา EV เป็นเรื่องที่เข้าใจค่อนข้างยากโดยเฉพาะคนที่เพิ่งศึกษาใหม่ๆ ที่ผ่านๆมาผมจึงพยายามที่จะอธิบายแบบง่ายๆโดยเหมาว่ามูลค่า EV เพิ่มขึ้นทุกๆปีตาม Discount rate ที่ 10%

แต่ถ้าจะลงในรายละเอียด ก็มีการคำนวณ EV ในหลากหลายวิธี แต่ก็มีแนวคิดคล้ายๆกัน ซึ่งที่ PWC คำนวณ EV ให้ BLA น่าจะเป็นแบบ Traditional EV ซึ่งมีสูตรคือ

Embedded Value (EV) = Adjusted Net Worth (ANW) + VIF (Value of inforce)
(บางตำราจะแตก Solvency Margin หรือเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ออกจาก VIF)

เนื่อง จากการขายประกันชีวิตแต่ละกรมธรรม์มีผลผูกพันให้เกิดเบี้ยรับต่อเนื่องไป หลายปี ส่งผลให้เกิดกำไรต่อเนื่องไปหลายปี ดังนั้นการดูแต่กำไรที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนั้นไม่ได้สะท้อนกำไรที่แท้จริงของ บริษัท และไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง จึงมีการคิดวิธีการหามูลค่าของบริษัทประกันชีวิตที่เรียกว่า EV ซึ่ง EV คือมูลค่าทั้งหมดของบริษัทประกันชีวิต บนสมมติฐาน ในกรณีของ BLA คือ ROI = 5% และ Discount rate = 10% โดย EV ประกอบไปด้วย 2 ส่วนตามสูตร

ส่วน แรกคือ VIF ซึ่งเป็นการหามูลค่าจากการคาดการณ์กำไรในอนาคตของกรมธรรม์ที่มีอยู่แล้วคิด ลดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (ไม่รวมกรมธรรม์ใหม่ที่จะขายออกไปในอนาคต) ซึ่งในการคิดคำนวณแบบเดียวกันนี้สำหรับกรมธรรม์ใหม่เราจะเรียกว่า VNB (Value of one year new business) โดยหลักๆแล้วในแต่ละปี ค่า VIF นี้จะเพิ่มขึ้นและลดลงตามปัจจัยดังนี้
1. VIF จะมีการปรับเพิ่มขึ้นปีละ 10% ตาม Discount rate
2. VIF จะลดลงจากการเกิดกำไรขึ้นจริงๆเมื่อเวลาผ่านไปในแต่ละปี (กำไรย้ายไปอยู่กับ ANW)
3. VIF จะเพิ่มขึ้นจากส่วนของ VNB ที่เข้ามารวม ซึ่งเป็นกรมธรรม์ใหม่ๆที่ขายออกไปได้ในแต่ละปี

หรือสรุปแบบหยาบๆก็คือ VIF(Y11) = VIF(Y10)x1.10 - Earning(Y11) + VNB(Y11)

ส่วน ANW คือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยพิจารณาจากราคาตลาดของสินทรัพย์ลบด้วยหนี้สิน ซึ่งส่วนนี้จะมีมูลค่าไปในทางเดียวกับ Book Value ของบริษัทนั่นเอง ซึ่งในแต่ละปี มูลค่าของ ANW จะเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยหลักๆดังนี้
1. เพิ่มขึ้นจากการย้ายกำไรที่คำนวณไว้จาก VIF ที่ผ่านไปในแต่ละปี
2. เพิ่มขึ้นจากความแตกต่างระหว่างกำไรที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเลขที่คำนวณไว้ตามข้อ 1
3. กำไรจากการนำสินทรัพย์สุทธิหรือ ANW ของปีก่อนไปลงทุน (ในที่นี้ประมาณ ROI = 5%)
4. มูลค่าลดลงเนื่องจากกรมธรรม์ใหม่ เช่นค่าสำรอง ค่าคอม ค่าใช้จ่ายต่างๆของกรมธรรม์ใหม่

ด้านล่างเป็นตัวอย่างเบี้ยรับ กำไร และการคำนวณ EV, VIF, ANW ของกรมธรรม์หนึ่งโดยคิด ROI ที่ 5% และ Discount rate ที่ 15%
Attachment:
Example of EV Cal.png


จากตารางข้างบนพอจะให้เห็นภาพได้คร่าวๆว่า ถึงแม้จะมีการขายกรมธรรม์ออกไปเพียงกรมธรรม์เดียว ในปีแรก EV มีมูลค่า 497 หลังจากนั้นก็ไม่มีการขายกรมธรรม์ใหม่อีกเลย มีแต่รับเบี้ยต่อที่ส่งมาต่อเนื่องในปีหลังๆด้วยจำนวนที่ลดลง แต่จะพบว่า EV ยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่ลดลงเรื่อยๆ และจนถึงปีที่สิ้นสุดกรมธรรม์ปีที่10 EV ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมา 2-3 เท่าโดยที่ไม่ได้ขายกรมธรรม์ใหม่เลย

ด้านล่างเป็น Presentation ของ BLA ในการคำนวณ EV และ VNB สำหรับอ้างอิงครับ
ถ้า ดูดีๆตัวเลข EV ของปี 53 โตจากปี 52 มากกว่าที่ควรจะเป็น แสดงว่าสมมติฐานในการคำนวณของ BLA นั้นค่อนข้าง Conservative มากเช่น ROI ที่คำนวณนั้นต่ำกว่าที่ทำได้จริง หรือมีการยกเลิกกรมธรรม์แล้วทำให้ BLA กำไรจากการจ่ายเวนคืนน้อยลงเยอะ หรือภาษีที่เสียจริงต่ำกว่าสมมติฐานที่ทำไว้ (BLA ตั้งสมมติฐานภาษีที่ 25% ในปี 2011-2012 และเพิ่มเป็น 30% ในปี 2013 เป็นต้นไป) ทำให้มูลค่าที่เกิดขึ้นจริงเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คำนวณไว้ในปีก่อนหน้า
http://www.bla.co.th/blasite/images/ima ... 300310.pdf
Attachment:
EV1.png

Attachment:
EV2.png

Attachment:
EV3.png

Attachment:
EV4.png

Attachment:
EV5.png

Attachment:
EV6.png

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

นิทานบริษัทประกัน

เร็วๆนี้มีกรณีของบริษัทประกันภัยต่อที่มีการเพิ่ม ทุน คาดว่าคงเป็นผลมาจากกรณีน้ำท่วมและสร้างความเสียหายให้กับบริษัทจนอาจจะไม่ มีเงินทุนเพียงพอสำหรับเงินชดเชย ก่อนหน้านี้ในช่วงที่ทุกอย่างคลุมเครือมีคนเข้ามาวิเคราะห์กันจำนวนมาก ต่างคาดการณ์กันต่างๆนานา มีคนใหม่ๆหลายๆคนกระโดดเข้าไปลงทุนเนื่องจากเห็นว่าราคาลดลงเยอะโดยที่ยัง ไม่เข้าใจความเสี่ยง หลงคิดว่า Excess of Loss Protection จะทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ไม่เข้าใจหลักการของบริษัทประกันเพียงพอส่งผลให้พอร์ตลงทุนเสียหายได้ ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้ความเชียวชาญเลย แต่คิดว่าพอจะมองภาพกว้างๆได้และอยากจะเขียนเป็นนิทานสื่อให้คนที่ยังไม่มี ความรู้เลยได้เข้าใจดังนิทานต่อไปนี้ครับ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชื่อว่าหมู่บ้าน A มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลัง ในทุกๆสิ้นปีจะมีบ้านสร้างใหม่ 10 หลังและจะมีบ้านที่พังไปเนื่องจากภัยพิบัติ 10 หลังตอนสิ้นปี ดังนั้นไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนจำนวนบ้านในหมู่บ้านนี้ก็ยังคงมี 1000 หลังเท่าเดิม โดยที่บ้านแต่ละหลังนั้นมีมูลค่าเท่ากันหมดคือหลังละ 1 ล้านบาท ดังนั้นหากบ้านใครพังไปจากภัยพิบัตินั่นหมายความว่าเขาจะสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาททันที และนั่นเป็นสิ่งที่คนในหมู่บ้านกลัวกันมาก และต้องคอยลุ้นทุกปีไม่ให้บ้านที่พังในแต่ละปีนั้นเป็นบ้านของตัวเอง

มี อยู่วันหนึ่งมีนักธุรกิจหัวใส มองเห็นว่าทุกคนในหมู่บ้านต่างกลัวบ้านจะพังและสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาท จึงนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณและพบว่า อัตราจำนวนบ้านที่พังเทียบกับบ้านทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นอยู่ที่ 1% ต่อปี เขาจึงป่าวประกาศไปว่าเขายินดีจะจ่ายเงินให้กับเจ้าของบ้านที่พังจำนวนเต็ม 1 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าบ้านที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องจ่ายเงินให้เขาปีละ 2 หมื่นบาทในต้นปีเพื่อให้ได้รับการรับประกันไปตลอดทั้งปีนั้น เมื่อชาวบ้านได้ยินดังนี้ต่างดีใจว่าเขาจ่ายเงินเพียงปีละ 2 หมื่นบาทก็สามารถประกันความปลอดภัยของบ้านเขาที่มีมูลค่าถึง 1 ล้านบาทจึงแห่กันไปเข้าโครงการนี้ทั้งหมดทุกหลังในหมู่บ้าน

นอกจาก ชาวบ้านจะได้ประโยชน์ ได้ความสบายใจ และมีความมั่นคงมากขึ้นแล้ว นักธุรกิจคนนี้ก็ได้ประโยชน์มากเช่นกัน คือทุกๆต้นปีเขาจะได้รับเงินจากบ้าน 1000 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท รวมแล้วเป็นเงิน 20 ล้านบาท หลังจากนั้นเขาก็เอาเงินนี้ไปลงทุนได้เงินผลตอบแทน 7% ต่อปี ทำให้เงินงอกเงยเป็น 21.4 ล้านบาทในปลายปีแรก และเมื่อบ้านพังไป 10 หลังในปลายปีเขาก็จะจ่ายเงินไป 10 ล้านบาท รวมแล้วเขาจะมีเงินกำไรถึง 11.4 ล้านบาท ในปีแรก และทำเช่นนี้จนมีเงินมากขึ้นทุกๆปีไป

นักธุรกิจคน เดิมนี้เริ่มต้องการขยายธุรกิจจึงไปสำรวจหมู่บ้าน B ซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน หมู่บ้านนี้มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลังเท่ากัน มีบ้านสร้างใหม่และบ้านพังปีละ 10 หลังเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างคือ บ้านแต่ละหลังมีราคาไม่เท่ากัน คือมีบ้านราคาแพงอยู่ 100 หลังที่มีมูลค่าถึงหลังละ 10 ล้านบาท และอีก 900 หลังมีมูลค่าเพียงหลังละ 1 ล้านบาท ซึ่งหากนักธุรกิจคนนี้เก็บเงินหลังละ 2% ของราคาบ้านเหมือนหมู่บ้าน A จะทำให้ได้เงินจากบ้าน 900 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท และอีก 100 หลัง หลังละ 2 แสนบาท เป็นเงินรวม 18+20 = 38 ล้านบาทต่อปี

แต่นักธุรกิจคิดได้ว่าหากเก็บเงินแบบนี้อาจจะไม่ ปลอดภัยพอ เพราะหากปีไหนบ้านที่พังทั้ง 10 หลังเป็นบ้านราคาแพงที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท จะทำให้เขาต้องจ่ายเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาคงไม่มีเงินจ่ายชดเชยบ้านที่พัง ดังนั้นเขาจึงคิดวิธีการที่เรียกว่า Excess of Loss Protection โดยการติดต่อเพื่อนของเขาคนหนึ่งที่รวยกว่าเขามาก ชื่อนายต่อ และขอให้นายต่อช่วยรับประกันบ้านที่ราคาแพงจำนวน 10 หลังในหมู่บ้าน B ให้หน่อย แต่มีเงื่อนไขว่านายต่อจะจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกินจาก 1 ล้านบาทเท่านั้น นั่นคือถ้าวันไหนบ้านเหล่านี้พังลง นักธุรกิจคนนี้จ่ายเพียง 1 ล้านบาท แต่นายต่อจ่าย 9 ล้านบาท ทั้งนี้นักธุรกิจคนนี้ยอมแบ่งเงินที่ได้รับมาจากบ้านเหล่านี้ให้นายต่อจาก เงินที่รับมาทั้งหมดหลังละ 2 แสนบาท เขาเก็บไว้เอง 2 หมื่นบาท และส่งเงินให้นายต่อ 1.8 แสนบาท นั่นเท่ากับว่านักธุรกิจคนนี้รับความรับผิดชอบไว้เพียงหลังละ 1 ล้านบาทในบ้านทุกหลังเหมือนกันกับหมู่บ้าน A

หลังจากที่ประสบความ สำเร็จจากหมู่บ้าน A และ B นักธุรกิจคนนี้จึงเดินทางไปหมู่บ้าน C หมู่บ้าน C นี้เหมือนกับหมู่บ้าน B ทุกอย่างยกเว้นเสียแต่ว่าหมู่บ้าน C นั้นจำนวนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแต่ละปีไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าเมื่อดูข้อมูลในอดีตตลอด 100 ปีที่ผ่านมาแล้วพบว่าจำนวนบ้านพังเฉลี่ยจะอยู่ที่ 10 หลังต่อปีเท่ากับหมู่บ้าน A และ B แต่ว่าบางปีก็ไม่มีบ้านพังเลย และในปีที่บ้านพังมากที่สุดก็มีบ้านพังถึง 100 หลังซึ่งในปีนั้นมีมหันตภัยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างรุนแรง

นักธุรกิจ คนนี้จึงคำนวณว่าหากเกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตที่เลวร้ายที่สุดแล้วบ้านพัง 100 หลังจริงเขาจะต้องชดเชยเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาเก็บเงินได้แค่ปีละ 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเขามองว่าเป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากมหันตภัย ซึ่งเขาก็รู้ว่ามหันตภัยนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นบ่อย เขาจึงเลือกที่จะขึ้นราคาจากเดิมบ้านหลังละ 1 ล้านบาทจะต้องจ่าย 2 หมื่นบาทเป็น ต้องจ่ายหลังละ 1 แสนบาท ดังนั้นในปีหนึ่งๆเขาจะเก็บเบี้ยได้ปีละ 100 ล้านบาท และในยามปกติเขาก็จะกำไรมากมายมหาศาล แต่ในปีที่เกิดมหันตภัยเขาก็ไม่น่าจะขาดทุน คิดได้ดังนี้เขาจึงป่าวประกาศไปและมีคนมาทำประกันบ้านกับเขาทุกหลังในหมู่ บ้าน C

หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปีนักธุรกิจคนนี้ร่ำรวยมีเงินมากกว่า 500 ล้านบาท เป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทประกันภัยของเขา แต่ในคืนหนึ่งเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น มีน้ำท่วมทะลักมาจากภูเขาเข้าท่วมทั้งหมู่บ้านของหมู่บ้าน C ทำให้บ้านทุกหลังพังพินาศไม่เหลือ และผู้คนต่างมาขอเงินชดเชยจากนักธุรกิจคนนี้ รวมแล้วเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้บ้านจำนวน 1000 หลังมีมูลค่า 1000 ล้านบท ดังนั้นเงินจึงไม่เพียงพอจ่ายและทำให้นักธุรกิจคนนี้ล้มละลาย

ธุรกิจ ประกันไม่ว่าจะประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย ล้วนแล้วแต่ใช้ข้อมูลสถิติในอดีตมาคำนวณความน่าจะเป็นเพื่อคาดการณ์แนวโน้ม และกำหนดเบี้ยประกันทั้งนั้น เบี้ยประกันนั้นได้บวกเผื่อความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ไม่คาดคิดในระดับหนึ่ง ไว้แล้วแต่ไม่ทั้งหมด ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนก็จะทำให้ตัว เลขเงินสำรองทั้งหลายไม่เพียงพอในการจ่ายค่าชดเชยได้ และนี่ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจของคนที่ลงทุนในธุรกิจนี้

คุณ มองธุรกิจประกันภัยอย่างไร ในอนาคตมีแนวโน้มที่ทรัพย์สินจะเสียหาย ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วๆไปและความเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆมากขึ้น หรือน้อยลง แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร
คุณมองธุรกิจประกันชีวิตกันอย่าง ไร ในอนาคตข้างหน้ามีแนวโน้มที่คนจะตายกันมากขึ้นหรือน้อยลง ทั้งจากการตายปกติและจากการตายเนื่องด้วยภัยพิบัติต่างๆ แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร

ความเสี่ยงของธุรกิจประกันวินาศภัยที่จะ ล้มลงจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนทรัพย์สินที่เสียหายมีสัดส่วนที่มากเทียบกับจำนวน ทรัพย์สินที่รับประกันทั้งหมด (มูลค่าของทรัพย์สินเป็นเรื่องรองเพราะมีระบบ Excess of Loss Protection) ส่วนความเสี่ยงธุรกิจประกันชีวิตก็คือจำนวนคนเอากรมธรรม์ที่เสียชีวิตมีสัด ส่วนที่มากเมื่อเทียบกับจำนวนคนทำประกันทั้งหมด โอกาสในการเกิดเหตุไม่คาดคิดในแต่ละความเสี่ยงนั้นมากน้อยอย่างไรก็คงแล้ว แต่การประเมินของแต่ละคน ถ้าคิดว่ามีโอกาสมากก็ไม่ควรจะลงทุน แต่ถ้าคิดว่าแทบจะไม่มีโอกาสเกิดได้ก็อาจจะเลือกลงทุน หรือไปลงทุนแต่ในธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงจากมหันตภัยเลย
ซึ่งถ้ามอง จริงๆแล้วทุกธุรกิจมีความเสี่ยงทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่จากมหันตภัยก็จากอย่างอื่น เช่นจากอัตราแลกเปลี่ยน จากราคาวัตถุดิบ และอื่นๆ เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ถ้าเรามองว่ามากก็ไม่ต้องลงทุน ถ้าเรามองว่าน้อยก็ลงทุนไป

ถ้าคุณลงทุนในบริษัทประกันโดยที่ยังไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงเหล่านี้อยู่แสดงว่าคุณกำลังเข้าสู่สนามรบที่คุณมองไม่เห็นตัวศัตรู