วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กรประเมินมูลค่าบริษัทประกันชีวิต ตอนที่ 3


เป็นที่เข้าใจตรงกันในบรรดานักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ว่าการประเมินมูลค่าของบริษัทหรือมูลค่าหุ้นให้ตรงตามหลักวิชาการนั้นคือการใช้ DCF model แต่หลังจากที่เขาเหล่านั้นมีความเข้าใจในการคำนวณแบบ DCF เซียนหุ้นหลายๆท่านก็เลือกที่จะใช้ค่าพีอีในการประเมินมูลค่าหุ้นมากกว่า เพราะ DCF นั้นคำนวณยากและมีสมมุติฐานมากมายที่ต้องใช้ ซึ่งสมมติฐานเหล่านี้เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้มูลค่าหุ้นที่คำนวณมาได้แตกต่างกันมาก คนสองคนไม่มีทางที่จะประเมินออกมาได้ค่าเท่ากัน แต่ถึงอย่างไรความเข้าใจใน DCF ก็ช่วยให้เราสามารถประมาณการณ์พีอีที่เหมาะสมในแต่ละธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น เช่นธุรกิจที่มีกำไรสม่ำเสมอคาดการณ์ได้ก็ควรจะมีพีอีที่สูงกว่าธุรกิจที่คาดการณ์ยาก หรือไม่สม่ำเสมอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินมูลค่าของบริษัทประกันชีวิตเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับพวกเรานักลงทุน ยิ่งกำไรที่ผันผวนด้วยแล้วทำให้การใช้ พีอีเรโชว์ ดูเป็นเรื่องไม่ค่อยเข้าท่า และหากจะประเมินโดยหลักคณิตศาสตร์ คือประเมินจาก EV VNB ยิ่งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า เพราะค่า EV VNB นั้นตัวแปรเยอะยิ่งกว่า DCF ของธุรกิจทั่วไป และหากเราไปอ้างอิงจากการประเมิน EV ที่บริษัทประกาศออกมาโดยไม่มีความเข้าใจวิธีการคำนวณและสมมติฐานอย่างถ่องแท้ จะยิ่งเป็นอันตรายในการลงทุน ที่ผ่านมา BLA เคยเปลี่ยนบริษัทที่มาประเมิน ทำให้ค่า EV ในปีเดียวกันนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ดังนั้นตัวเลข EV ที่ประกาศออกมานั้นสามารถปรับเปลี่ยนขึ้นหรือลงได้ตามใจผู้บริหารด้วยการให้สมมติฐานที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราไม่ควรยึดติดกับค่า EV VNB ที่ประกาศมากจนเกินไป แค่ใช้ดูคร่าวๆก็พอได้

วิธีการหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นวิธีที่ง่าย เข้าใจได้ โอกาสผิดพลาดค่อนข้างน้อยในการดูความถูกแพงของหุ้น แต่อาจจะไม่ตรงตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ไม่ตรงตามหลักวิชาการ แต่อาจจะเหมาะกับนักลงทุนอย่างเราๆ นั่นก็คือ SKM (ขำๆนะครับ ย่อมาจาก Skyforever's Valuation Method 555) วิธีนี้ก็คือการใช้พีอีนั่นเอง แต่ก่อนจะใช้พีอี จะต้อง normalize ตัวกำไรก่อน ซึ่งผมมีหลักคิดง่ายๆอย่างนี้นะครับสำหรับ BLA
1. โดยเฉลี่ย BLA มีผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 5%
2. กรมธรรม์ของ BLA ที่จำหน่ายออกไปแล้วและยังไม่หมดอายุส่วนใหญ่เป็นแบบออมทรัพย์ที่มีทั้งให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือกรมธรรม์ 3.xx% และ 2.xx% และส่วนน้อยที่เน้นความคุ้มครองซึ่งค่าเคลมคงประมาณ 1.xx% และเมื่อพิจารณาถึงค่าคอม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ผมประมาณว่าต้นทุนทางการเงินคงจะประมาณ 3.0% (best case 2.5% , worst case 3.5%)
3. เงินลงทุนของ BLA จากงบไตรมาส 1 อยู่ที่ประมาณ 1.86 แสนล้านบาท
4. หนี้สินของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1.73 แสนล้านบาท

กรณีปกติ
กำไรต่อปีของ BLA โดยเฉลี่ย = (186,000 x 5%) - (173,000 x 3%) = 4,110 ล้านบาท
กรณี Best case
กำไรต่อปีของ BLA โดยเฉลี่ย = (186,000 x 5%) - (173,000 x 2.5%) = 4,975 ล้านบาท
กรณี Worst case
กำไรต่อปีของ BLA โดยเฉลี่ย = (186,000 x 5%) - (173,000 x 3.5%) = 3,245 ล้านบาท

หลังจากได้ตัวเลขกำไรต่อปีมาแล้ว เราอยากจะให้พีอีเท่าไรก็เอาไปคูณตัวเลขกำไรเลย จะได้ตัวเลข market cap ที่เหมาะสม จะให้พีอี 15 เท่า หรือ 20 เท่า หรือ 25 เท่า ก็แล้วแต่เลยครับ

ให้ดูเป็นไอเดียประกอบการตัดสินใจลงทุนนะครับ ถ้ารู้สึกว่าสมมติฐานไหนไม่เหมาะสมก็ปรับเปลี่ยนตัวเลขได้ตามใจเลยครับ ^^

1 ความคิดเห็น:

  1. สร้างรายได้ จากการเทรดค่าเงิน,ทองแร่ต่างๆ บนมือถือ ได้ด้วยตัวเอง สามารถเล่นได้ จ-ศ.ตลอด24ชม.

    ดูได้ที่ www.forexcoolcool.blogspot.com

    ตอบลบ